วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 4

กิจกรรมที่ 4
4.1  ศึกษาบริบทสถานศึกษา จุดเด่น จุดด้อย โอกาสที่จะพัฒนา
โรงเรียนนาคคามพิทยาคม
1. ประวัติความเป็นมาของโรงเรียน4.2       ศึกษาระบบข้อมูลสถานศึกษา
                1.1  โรงเรียนนาคคามพิทยาคม  ขออนุญาตจัดตั้งขึ้นเมื่อ  เดือน  ตุลาคม   พ.ศ. 2544    โดยพระครูเนกขัมมาภิราม เจ้าอาวาสวัดเนกขัมมาราม เป็นผู้ริเริ่มและดำเนินการ  ซึ่งยกฐานะมาจากศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดเนกขัมมาราม  ตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2535   
         1.2   สังกัด สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ( สช.)  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช  เขต  3
                1.3   เปิดสอนระดับชั้นปฐมวัย  ตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นอนุบาลปีที่  3
                1.4   เขตพื้นที่บริการ  เขตอำเภอร่อนพิบูลย์    เขตอำเภอจุฬาภรณ์   และ เขตอำเภอทุ่งสง                                                                                                                                    
2. ข้อมูลผู้บริหาร
                2.1  ผู้บริหาร       - ผู้รับใบอนุญาต  พระครูเนกขัมมาภิราม  เจ้าอาวาสวัดเนกขัมมาราม เจ้าคณะตำบลเสาธง
                                               - ผู้จัดการ              นางกมลวรรณ    นวลประดิษฐ์  วุฒิการศึกษา ปริญญาตรี  ครุศาสตรบัณฑิต     
                                                                               เอกการศึกษาปฐมวัย
                                               - ผู้อำนวยการ       นางกมลวรรณ    นวลประดิษฐ์  วุฒิการศึกษา ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต      
                                                                               เอกการศึกษาปฐมวัย
2.2  รองผู้อำนวยการ                        นางจิตรลดา    พิเภก          วุฒิการศึกษา  ครุศาสตรบัณฑิต เอกสังคม
                                      ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานทั่วไป
                                                                               นางศึกษา        เหมเดโช  ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต
                                                                               เอกการศึกษาปฐมวัย           ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
2.3  หัวหน้าสายชั้น                           -  อนุบาล  1   นางวัลภา          ศิริมี
                                                                               -  อนุบาล  2   นางศึกษา          เหมเดโช
                                                                               -  อนุบาล  3   นางจิตรลดา      พิเภก
วัตถุประสงค์
                                1. เพื่อช่วยเหลือชุมชนด้านการศึกษาและเผยแพร่ศาสนธรรมสู่เยาวชนไทย
                                2. จัดการศึกษาเพื่อการกุศลโดยไม่หวังผลกำไร     มุ่งสงเคราะห์เด็กยากจน และเด็กด้อย  โอกาสทางการ
                                     ศึกษา
                                3. มุ่งปลูกฝังให้เยาวชนไทย  เป็นผู้ที่มีคุณธรรม  จริยธรรม
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน
ชื่อโรงเรียน                 :   นาคคามพิทยาคม
  อักษรย่อ                      :     น.พ.
  วันก่อตั้ง                     :     วันที่   9   เดือน ตุลาคม   พ.ศ.2544
  สถานที่ตั้ง                         512     หมู่ที่    14    ตำบลร่อนพิบูลย์     อำเภอร่อนพิบูลย์   จังหวัดนครศรีธรรมราช
  โทรศัพท์                     :     075 441189  , 075 336094      
  โทรสาร                      :   075 441189 
  สีประจำโรงเรียน      :    ม่วง  ,  เหลือง
  วิสัยทัศน์
มุ่งเน้นพัฒนาการศึกษาปฐมวัย   ให้ก้าวไกล   มีคุณภาพ   ได้มาตรฐาน
พันธกิจ
1.  ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สติปัญญา และ สังคมให้เหมาะสมสอดคล้องกับวัย
2.  ส่งเสริมด้านพระพุทธศาสนา  พัฒนาคุณธรรม  จริยธรรม  น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปลูกฝังระเบียบวินัยต่อตนเองและผู้อื่น
3.  พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยได้อย่างมี มาตรฐาน
4.  พัฒนาการบริหารงาน การจัดสิ่งแวดล้อม  อาคารสถานที่  ประสานความร่วมมือระหว่าง วัดบ้านและโรงเรียนให้เป็นที่ยอมรับของสาธารณชน
เป้าหมาย
            เด็กนักเรียนทุกคนจะได้รับการอบรม  ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม  มีความประพฤติที่ดีทางด้านระเบียบวินัยของตนเอง และผู้อื่น  ปฏิบัติตนได้ตามแนววิถีพุทธ  รู้จักการนำหลักพระพุทธศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวัน

นโยบายของโรงเรียนนาคคามพิทยาคม
      1. พัฒนาเด็กให้มีความพร้อมด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ  สังคมและสติปัญญา
      2. พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถด้าน อนุบาลศึกษา เพื่อพัฒนาเด็กให้มีชีวิตอยู่  ในสังคมอย่างมีความสุข
      3. ปลูกฝังบุคลการและนักเรียนให้รู้คุณค่ารักษาเอกลักษณ์ไทยด้านชาติ  ศาสนา พระมหากษัตริย์ ประเพณี  วัฒนธรรม
           อันดีงามเพื่อสืบทอดต่อไป
ปรัชญา
             สร้างพื้นฐานการเรียนรู้    เชิดชูคุณธรรม    สัมพันธ์ชุมชน
พุทธสุภาษิตประจำโรงเรียน
                                      ปญญา  โลกสมิ  ปฺชโชโต
                        แปลว่า  ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก  

การจัดระบบสารสนเทศของโรงเรียนนาคคามพิทยาคม
อำเภอร่อนพิบูลย์   จังหวัดนครศรีธรรมราช

จากการศึกษาระบบสารสนเทศของโรงเรียนนาคคามพิทยาคม  พบว่า
                1. มีเจ้าหน้าที่ธุรการในการจัดทำสารสนเทศ
2. จัดสรรงบประมาณในการจัดทำ
3. ด้านวัสดุอุปกรณ์ มีเครื่องคอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศ  3  เครื่อง สำหรับนักเรียน 15
4. ด้านสถานที่  โรงเรียนใช้ห้อง  1  ห้อง  เป็นห้องสารสนเทศ คือห้องธุรการ  ในการจัดเก็บสารสนเทศ จะทำเป็น 2 และงานจะเก็บไว้ในห้องธุรการ
การใช้ระบบสารสนเทศในการบริหารงานในโรงเรียนนาคคามพิทยาคม
               ข้อมูลสารสนเทศที่ได้มานั้นสามารถนำมาใช้วางแผนประกอบการตัดสินใจในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การบริหารระบบสารสนเทศของสถานศึกษา  แบ่งเป็นหมวดหมู่เหมือนโครงการสร้างการบริหาร  ดังนี้
1. การบริหารงานด้านวิชาการ
2. การบริหารงานด้านงบประมาณ
3. การบริหารงานบริหารทั่วไป
4. การบริหารงานบุคคล
โครงสร้างการบริหารงานของโรงเรียนนาคคามพิทยาคม
                แบ่งฝ่ายการบริหารงานออกเป็น 4 ฝ่าย  และได้แบ่งสายงานแยกเป็น 3 ระดับชั้น  มีหัวหน้าระดับดูแลรับผิดชอบในแต่ละชั้น  ทั้งนี้อยู่ในการควบคุมดูแลของผู้จัดการ   โดยมี พระครูเนกขัมมาภิราม เป็นผู้รับใบอนุญาต และมีนางกมลวรรณ   นวลประดิษฐ์  เป็นผู้จัดการ - ผู้อำนวยการโรงเรียนนาคคามพิทยาคม จากโครงสร้างการบริหารงานของโรงเรียนได้กำหนดหน้าที่ของแต่ละฝ่าย  ดังนี้
1.  แผนงานวิชาการ
·       เป้าหมาย  คือพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สื่อการเรียนการสอน กระบวนการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน ชุมชน ท้องถิ่น  ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
·       การดำเนินการ  คือส่งเสริมให้การบริหารการศึกษาของสถานศึกษา ได้พัฒนาการเรียนรู้ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน  ให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ  มีจุดมุ่งหมายตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์
2.  แผนงานงบประมาณ
·       เป้าหมาย  คือจัดทำงบประมาณของสถานศึกษา มุ่งเน้นความถูกต้อง ประหยัด บริหารจัดการเพื่อประโยชน์ของสถานศึกษา  บันทึกรายรับ-รายจ่าย จัดทำรายงานเป็นปัจจุบัน เพื่อตรวจสอบ
·       การดำเนินการ  จัดให้มีการทำงานอย่างเป็นระบบ มีความรับผิดชอบ จัดทำงบประมาณถูกต้อง ประหยัดตรงตามประโยชน์และวัตถุประสงค์ของโรงเรียน
3.  แผนงานบริหารงานบุคคล
·       เป้าหมาย  คือ  พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่  ที่รับผิดชอบ สร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน  มีคุณธรรมจริยธรรม มีความมั่นคงและก้าวหน้าในวิชาชีพ
·       การดำเนินงาน  คือ  ส่งเสริมให้บุคลากรทุกคนได้รับการฝึกอบรมและศึกษาหาความรู้ความสามารถในด้านการเรียนการสอน  มีคุณธรรมจริยธรรม  มีขวัญกำลังใจในการทำงาน
4.  แผนงานบริหารงานทั่วไป
·       เป้าหมาย คือ
1. พัฒนานักเรียน-ครู  ให้เข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ  เกิดการเรียนรู้  มีคุณธรรม 
    จริยธรรม มีระเบียบวินัย สุขภาพดี  ปลอดภัย ช่วยเหลือตนเองและสังคมตามวัย
2. จัดการศึกษาที่ชุมชนมีส่วนร่วม  จัดทำข้อมูลข่าวสารให้ชุมชนได้รับทราบอย่าง
     ต่อเนื่อง สร้างความสัมพันธ์ ความสามัคคีอันดีระหว่างกัน 
3.  ดูแลอาคารสถานที่  ปรับปรุงให้อยู่ในสภาพที่แข็งแรง  ปลอดภัย และเพียงพอกับ
    ความต้องการ  จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กนักเรียน  ให้สะอาด 
    ร่มรื่น สวยงาม  น่าอยู่
·       การดำเนินการ
1. ส่งเสริมให้เด็กมีคุณธรรมจริยธรรม  สุขภาพดี มีความปลอดภัย ช่วยเหลือตนเอง
    และสังคมตามวัย  อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
2. ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  ได้รับทราบข้อมูลของโรงเรียน
    อย่างต่อเนื่อง  สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน
3. ปรับปรุงดูแลอาคารสถานที่ รวมทั้งเครื่องเล่นให้อยู่ในสภาพที่แข็งแรง  ไม่เป็น
    อันตรายต่อนักเรียน  จัดสภาพภายในและนอกห้องเรียนให้มีความเหมาะสมเอื้อต่อ
     การจัดการเรียนรู้
การกำกับ  ติดตามผลและรายงาน
                การกำกับ ติดตามประเมินผลคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา เป็นการตรวจสอบทบทวน หรือประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ  เพื่อทราบความก้าวหน้าหรือความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพ หรือธรรมนูญโรงเรียน และให้ได้ข้อมูลป้อนย้อนกลับในการปรับปรุงพัฒนาสถานศึกษาไปสู่ความเป็นสถานศึกษาที่มีมาตรฐานตามเกณฑ์
                โรงเรียนนาคคามพิทยาคม  ดำเนินการกำกับติดตามผลและรายงานผลการปฏิบัติงานของโรงเรียน  เพื่อเผยแพร่ผลงานต่อผู้เกี่ยวข้องและชุมชน  รวมทั้งเพื่อเตรียมรับการประเมินคุณภาพภายนอก ดังนี้
                1. ฝ่ายงาน  ประเมินการปฏิบัติงานของตนเองให้สอดคล้องมาตรฐานของโรงเรียน เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาให้ได้มาตรฐานที่กำหนด
                2.    คณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา  ประเมินและเก็บข้อมูล เพื่อนำผลมาใช้พัฒนาปรับปรุงสถานศึกษาทั้งระบบ
                3. คณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา  นำผลการประเมินจากฝ่ายงานมาจัดทำสรุปผลการประเมินคุณภาพมาตรฐานการศึกษา  และทำรายงานการประเมินตนเอง  ( SAR ) เพื่อเสนอต่อต้นสังกัด  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
ปัญหาในการดำเนินงาน
1.ปัญหาที่พบส่วนมาก เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลไม่มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
                2.ข้อมูลพึ้นฐานงานวิชาการส่วนใหญ่มีการจัดทำอยู่แล้ว ส่วนที่จัดทำน้อยคือการจัดทำคลังข้อสอบที่เป็นระบบและเป็นปัจจุบัน
3.บุคลากรในโรงเรียนยังถือว่างานสารสนเทศเป็นภาระงานที่เสริมเข้ามาจึงไม่ให้ความสำคัญกับงานสารสนเทศเท่าที่ควร และมีการใช้ประโยชน์จากสารสนเทศค่อนข้างน้อย
ข้อเสนอแนะในการพัฒนา
1.เขตพื้นที่ควรจัดทำแบบฟอร์มสารสนเทศพื้นฐานรูปแบบเดียวกัน
2.ผู้บริหารต้องชี้แจงให้บุคลากรเห็นความสำคัญของระบบสารสนเทศและนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน
3.บุคลากรที่จัดทำสารสนเทศควรเป็นผู้ทำงานด้านนี้โดยเฉพาะ
4.ผู้บริหารควรจัดงบประมาณ อุปกรณ์ สถานที่ในการจัดทำสารสนเทศเป็นสัดส่วน
5.ปัญหาจากการจัดระบบสารสนเทศควรนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านต่างๆตลอดจนป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น

4.3  คิดระบบนวัตกรรมที่ใช้ในการบริหารหรือจัดการเรียนการสอน
1. จัดทำบล็อกของโรงเรียน  ที่ประกอบด้วยข้อมูลต่างๆ ของโรงเรียนที่สมบูรณ์  เช่น ประวัติโรงเรียน  วิสัยทัศน์  พันธกิจ  บุคลากร  กิจกรรมการดำเนินงานฝ่ายต่างๆ ของโรงเรียน  กิจกรรมนักเรียนเป็นต้น

2. ส่งเสริม สนับสนุน  ให้ความรู้ แก่คณะครูในโรงเรียนฝึกสร้างบล็อกด้วยตนเองและการใช้บล็อก  รับ - ส่งงานผ่านทางบล็อก

กิจกรรมที่ 5

กิจกรรมที่ 5 ผลจากการไปทัศนศึกษาต่างประเทศ

กิจกรรมนี้เป็นทัศนศึกษานอกสถานที่ ไปศึกษาดูงานประเทศ  มาเลเซียและสิงคโปร์ มีการดำเนินการดังนี้

1. วิธีการไปศึกษาดูงานมีขั้นตอนในการไปศึกษาดูงานดังต่อไปนี้1.1  ประชุมนักศึกษาเพื่อร่วมกันเลือกสถานที่ไปศึกษาดูงาน1.2  เสนออาจารย์เพื่อเขียนโครงการเสนอมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช1.3  ประชุมกรรมการเพื่อเตรียมการเกี่ยวกับสถานที่ไปศึกษาดูงาน1.4  เลือกทัวร์ที่เหมาะสมในเรื่องรถ ราคา  วัน  สถานที่1.5  จัดเก็บเงิน  1.6  ขออนุญาตไปศึกษาดูงานต่างประเทศ
1.7  นัดหมายกำหนดการที่แน่นอน
1.8  เดินทางไปศึกษาดูงาน
1.9  สรุปรายงานผลการไปศึกษาดูงาน

2. เล่าบรรยากาศสิ่งที่ได้ สิ่งที่พบปะและเห็นนำมาใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนหรือการบริหาร2.1  บรรยากาศ  สิ่งที่ได้  สิ่งที่พบประและเห็นจากการไปศึกษาดูงาน  วันจันทร์  ที่  24 มกราคม 2554 รถออกจาก ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช (รถออกช้ากว่าที่กำหนดมากทำให้เสียเวลาในการเดินทาง)  มุ่งหน้าสู่ด่านสะเดา จ.สงขลา รับประทานอาหารเช้า บนรถ  (ข้าวมันไก่ )ประทับตราหนังสือเดินทาง  ที่ด่านชายแดนไทยเข้าสู่ด่านจังโหลน ประเทศมาเลเซียเข้าสู่สถานที่ดูงาน

   Sekolah  Kebangsaan Kodiag school คณะครูอาจารย์ให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงานเป็นอย่างดี แม้ว่าภาษาจะเป็นอุปสรรค(นิดหน่อย)กับพวกเราก็ตาม  ได้รับประสบการณ์ที่ดีมากด้านการบริหารของโรงเรียนที่นั่น จากนั้นก็รับประทานอาหารเที่ยง( ข้าวหมกไก่ ) ที่ Sekolah  Kebangsaan Kodiag school  ทานข้าวเสร็จออกจาก Sekolah  Kebangsaan Kodiag school มุ่งหน้าสู่ เกาะปินัง   แลกเงิน ณ จุดแปลกเปลี่ยนเงิน  รับประทานอาหารเย็น เข้าพักโรงแรม Grand  Continental

   วันอังคารที่  25 มกราคม 2554   รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม Grand  Continental  ออกจากโรงแรม ชมป้อมปืน  รับประทานอาหารเที่ยง ที่ร้าน Garden Seafood  ชมพระราชวังของประเทศมาเลเซีย   ชมอนุสาวรีย์ทหารอาสา   ชมเสาธงที่สูงที่สุดในโลก      ชมตึกแฝด    แวะร้านช็อคโกแลต ออกเดินทางสู่เก็นติ้งเมืองมหานครบนภูเขาสูง      นั่งกระเช้าไฟฟ้า สู่ยอดเขาเก็นติ้ง   ถึงเก็นติ้ง  เข้าสู่ที่พัก โรงแรม First World   รับประทานอาหารค่ำ และชมบรรยากาศภายในเก็นติ้ง บรรยากาศอันสุดหรูของนักท่องเที่ยว พักผ่อนตามอัธยาศัย

   วันพุธ  ที่  26 มกราคม 2554   รับประทานอาหารเช้า ณ ภัตตาคารของโรงแรม First World  ลงจากเก็นติ้งด้วยรถบัสของเก็นติ้ง  ร้านดิวตี้ฟรี ร้านขนม  รับประทานอาหารเที่ยง Malaysia Kitchen  ชมรัฐสภา  มัสยิดสีชมพู รับประทานอาหารค่ำ  จากนั้นเดินทางต่อมุ่งหน้าสู่โยโฮบารูเมืองชายแดนติดกับประเทศสิงคโปร์  ถึงด่านแจ้งหนังสือเดินทางออกจากมาเลเซียเพื่อเข้าสู่ประเทศสิงคโปร์ที่ด่านวู๊ดแลนด์ เข้าสู่ที่พัก  AQUEEN HOTEL

   วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม 2554  รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม   หลังอาหารเที่ยวชมบริเวณอ่าวสิงคโปร์ บริเวณเมอร์ไลออน  ร้านดิวตี้ฟรี ช้อบปิ้งบริเวณถนออร์ชาร์ด รับประทานอาหารเที่ยง  เกาะเซ็นโตซ่า (Sentosa) ชมยูนิเวอร์เซล ชมภาพยนตร์ 4 มิติ ( 4D ) นั่งรถไฟฟ้า ชมบรรยากาศ  รับประทานอาหารเย็น ชมน้ำพุเต้นระบำ Song of the sea ล่องเรือชมอ่าวสิงคโปร์  ออกจากสิงคโปร์กลับสู่ประเทศมาเลเซีย  เข้าพักโรงแรม Selasa

   วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2554 รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม   Selasa  ออกจากโรงแรม    รับประทานอาหารเที่ยง   ร้านดิวตี้ฟรี ซื้อของฝากติดไม้ติดมือกลับบ้าน เดินทางเข้าสู่ประเทศไทย  รับประทานอาหารเย็นตามอัธยาศัย(ข้าวมันไก่)ถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

ความประทับใจ
จากการศึกษาดูงาน ณ Sekolah  Kebangsaan Kodiag school  มีการแสดงต้อนรับของนักเรียน และกล่าวต้อนรับ พร้อมนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ของ Sekolah  Kebangsaan Kodiag school  ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
Sekolah  Kebangsaan Kodiag school  มี 3 อาคาร เปิดสอน 7 ชั้นเรียน  เปิดเรียนสัปดาห์ละ 5 วัน  มีครู 47 คน เป็นชาย 16 คน หญิง 31 คน  นักเรียนจำนวน 591 คน แต่ละชั้นแบ่งนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ คือ  Excellence   Genius และ  Smart เริ่มเรียนเวลา 7.30 น. เลิกเรียน 12.00 น. โรงเรียนส่งเริมกิจกรรมกีฬา มีโครงการ 1 นักเรียน 1 กีฬา  มีกองทุนค่าใช้จ่ายสำหรับนักเรียน  เช่น หนังสือยืมเรียน  อาหารกลางวัน รายหัว  หัวละ  1.8  ริงกิต  การจัดห้องสำนักงาน และสิ่งแวดล้อมเรียบร้อย เรียบง่าย เน้นความเป็นระเบียบ การจัดห้องเรียนมีความสวยงาม แปลกใหม่ น่าสนใจ อาคารเรียนอนุบาลแยกต่างหาก มีช่วงเวลาพักผ่อนสำหรับนักเรียนอนุบาล ห้องน้ำห้องส้วมสะอาด  มีการวางแผนใช้ประโยชน์อาคารสถานที่อย่างลงตัวและคุ้มค่า
จากการศึกษาดูงานดังกล่าว สามารถนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอน เกี่ยวกับการจัดแบ่งกลุ่มนักเรียนตามความสามารถ และจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละคน  เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาตนเองตามศักยภาพที่มีอยู่  อีกทั้งการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้แสดงออกความสามารถทางด้านกีฬา ส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี  อยู่ในสังคมโรงเรียนอย่างมีความสุข  นอกจากนี้สิ่งที่สามารถนำมาเป็นแบบอย่าง คือ การจัดบรรยากาศในห้องเรียนที่สามารถจัดตกแต่งได้สวยงาม แปลกใหม่  กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
 เก็นติ้ง ก่อตั้งโดย ลิ้มโกตง ได้นั่งกระเช้าลอยฟ้า ตื่นเต้นสุดๆ (ครั้งแรกในชีวิต)นั่งกระเช้าไฟฟ้า (Genting Skyway) ขึ้นไปบนยอดเขา เก็นติ้ง ซึ่งมีความสูงถึง 1,800 เมตรจากระดับน้ำทะเล ระยะทางของกระเช้า 3.4 กิโลเมตร ซึ่งระหว่างทางจะผ่านผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์และสวยงามเป็นอย่างมาก บนยอดเขาเก็นติ้งมีโรงแรมหรูระดับ 5 ดาวให้เลือกอยู่ 5 แห่งด้วยกัน ซึ่งราคาก็ต่างกันไปตามความหรูหราของโรงแรม  ซึ่งคณะดูงานได้พักที่ First World Hotel มี อย่างหนึ่งที่ทุกโรงแรมที่นี่เหมือน กันก็คือ ห้องทุกห้องจะไม่มีเครื่องปรับอากาศ เพราะว่าอากาศที่บนยอดเขาเก็นติ้ง จะเย็นตลอดทั้งปีอยู่แล้ว แค่เปิดหน้าต่างแง้มไว้หน่อยเดียวก็เย็นจับใจแล้ว  โรงแรมที่นี่เค้าจะให้เช็คอินตอนบ่าย 3 โมง และ เช็คเอาท์ตอน เที่ยงตรง สำหรับภายในโรงแรม มีส่วนของช็อปปิ้งและร้านอาหารอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีร้านอาหารนานาชนิด ตั้งแต่ Fast food ไปจนถึง ภัตตาคารสุดหรู  มีสวนสนุก ซึ่งมีให้เลือกเล่นทั้งสวนสนุกในร่มและสวนสนุกกลางแจ้ง เพราะว่ามีเครื่องเล่นให้เลือกเล่นมากถึง 55 ชนิด ทั้งเครื่องเล่นประเภทหวาดเสียว เช่น Genting Sky Venture, Flying Coaster, Turbo Drop เป็นต้น และ รวมไปถึงเครื่องเล่นประเภทสนุกสนานสำหรับคุณน้องคุณหนูตัวน้อยๆ และที่พลาดไม่ได้ก็เห็นจะเป็นส่วนของ Snow World ซึ่งเป็น Snow World ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศมาเลเซีย  และที่นี่ก็ยังมี บ่อนคาสิโน  การเข้าไปในบ่อน ผู้ชายต้องสวมเสื้อเชิ้ต กางเกงยายาว ร้องเท้าหุ้มส้น ผู้หญิงแต่งแบบไหนก็ได้  
         สิงคโปร์ (Singapore)  สิงคโปร์ก้าวหน้าอย่างไม่หยุดนิ่งที่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยว ระดับโลก    มีพื้นที่เท่ากับเกาะภูเก็ต ประมาณ 682.7 ตร.กม. แต่สร้างรายได้ประชาชาติสูงสุดติดระดับโลก 117,083 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รัฐบาลสิงคโปร์เน้นคุณภาพการศึกษาและความรู้เป็นพื้นฐานให้คนสิงคโปร์ทั้งชายและหญิงเป็นคนเก่ง  แต่ก็ต้องประสบปัญหาด้านสังคม เมื่อพบว่าอัตราการเติบโตของประชากรทั้งหญิงและชาย ลดลง ประชาชนไม่ยอมแต่งงานอยู่เป็น โสด และทำงานเลี้ยงตัวเองอย่างเท่าเทียมกัน  สิงคโปร์มีอากาศอบอุ่นชื้นตลอดทั้งปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 24-31 องศาเซลเซียส สกุลดอลลาร์สิงคโปร์ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 24.5 บาท (26 มกราคม 2554)     น้ำดื่ม  สามารถดื่มน้ำจากก๊อกน้ำประปาในสิงคโปร์ได้ สิงคโปร์มีกฎหมายเคร่งครัดในเรื่องระเบียบวินัย เช่น การถ่มน้ำลาย การทิ้งขยะ กฎจราจร การข้ามถนน การสูบบุหรี่ ผู้ฝ่าฝืนจะถูกปรับเป็นเงิน 1,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ ยกเว้นสถานที่เที่ยวกลางคืน ที่สำคัญห้ามเคี้ยวหมากฝรั่ง ไฟฟ้าและปลั๊กไฟ     ไฟฟ้าเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ 220-240 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิรตซ์ ใช้ปลั๊กไฟแบบ 3 ขาสี่เหลี่ยมจัตุรัส  สถานที่ท่องเที่ยวที่ ข้าพเจ้าได้ไปคือ บริเวณ Marina Bay, ปากแม่น้ำสิงคโปร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมอร์ไลออน (Merlion) และเกาะเซ็นโตซ่า  ยูนิเวอร์เซล ได้ชมภาพยนตร์ 4 มิติ  (4D) เรื่อง  Pirates ภาพยนตร์แนวผจญภัยของเหล่าลูกเรือโจรสลัด และกัปตันลัคกี้ ในการออกค้นหาสมบัติล้ำค่าที่ถูกฝังไว้  การ ชมภาพยนตร์ต้องสวมแว่นตาพิเศษที่โรงหนังจัดให้ ขณะชมเราจะรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของภาพยนตร์เรื่องนั้น ได้สัมผัสทั้งรูป รส กลิ่น เสียง  สนุกสนานและประทับใจมาก  นอกจากนี้ยังได้ชมน้ำพุเต้นระบำ song of the sea สวยงาม ตื่นตา ตื่นใจมาก ๆ
3. ให้นักศึกษานำเสนอรูปถ่ายหรือวีดีโอลงในบล็อกนักศึกษา




 
กิจกรรมที่
จากการที่อาจารย์ให้นักศึกษาส่งงานผ่านทางบล็อก  ข้าพเจ้าคิดว่ามีความเหมาะสมมาก 
สามารถนำมาใช้ในการจัดทำสื่อการเรียนการสอนให้กับนักเรียนได้จริง  นักเรียนสามารถเข้ามาใช้งานบล็อกที่ครูจัดทำขึ้นได้  และครูสามารถนำสื่อที่ได้ขึ้นไว้บนบล็อกมาสอนนักเรียนได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

ผลดีของการใช้งาน
1.  ใช้งานได้สะดวก  มีความหลากหลาย  นำเสนอได้ทั้งรูปภาพและตัวหนังสือ 
2.  สร้างง่าย ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ 
3.  สามารถแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้อ่านเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่โพสต์ได้
4.  ช่วยในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ เสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวของโรงเรียนได้
5.  มีความทันสมัย  ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันเสมอ
6.  เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้โดยอิสระ 
7.  ผู้ที่สร้างบล็อกสามารถ ปรับแต่งบล็อกให้เป็นรูปแบบที่ตนต้องการได้
8.  สามารถสร้างเครือข่ายร่วมกันได้
9.  เก็บและเผยแพร่ข่าวสารได้มาก  และหลากหลายรูปแบบ
 ข้อเสียของการทำบล็อก 
1. เนื้อหาที่อยู่ในบล็อก ไม่สามารถควบคุมคุณภาพได้  ยังมีการพิมพ์ผิด  เนื่องจากไม่ได้รับการตรวจสอบก่อนเผยแพร่
2. เพื่อนที่อยู่นอกเครือข่ายหรือไม่มีที่อยู่มีของบล็อกโอกาสที่จะได้รู้จักหรือแสดงความคิดเห็นทำได้ค่อนข้างยาก
3. อิสระในการนำเสนอ  ไม่มีผู้ตรวจสอบบางครั้งอาจโพสต์เรื่องที่ไม่เหมาะสม
4. ข้อความสามารถคัดลอก  วางได้สะดวกโดยไม่ต้องพิมพ์
     จากการที่ข้าพเจ้าได้จัดทำบล็อก  ข้าพเจ้าได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์  การตกแต่งบล็อกของตนเอง  การคิดสร้างสิ่งใหม่  มีความกระตือรือร้นในการทำงานเนื่องจากต้องศึกษาและติดตามการสั่งงานของอาจารย์ตลอดเวลา  ส่งผลให้นักศึกษามีความรับผิดชอบมากยิ่งขึ้น  ให้ความสนใจกับวิชาที่เรียนมากยิ่งขึ้น